ในปัจจุบันการเลือกซื้อเสื้อผ้านั้นสามารถทำได้ 2 วิธีคือ 1.การเดินทางไปยังร้านขายเสื้อผ้า สำหรับวิธีนี้คุณจะสามารถเลือกสี รูปแบบ และสามารถทดลองใส่ทำให้ได้เสื้อผ้าที่โดนใจและยังได้เสื้อผ้ากลับมาในทันที แต่สิ่งที่เสียไปก็คือเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่วนวิธีที่ 2.คืออยู่ที่บ้านและซื้อออนไลน์ผ่านทางช่องทางต่างๆ วิธีการนี้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง แต่เราไม่สามารถทดลองสวมใส่มันได้ ดังนั้นจึงยากมากๆ ที่จะกะไซต์ของเสื้อผ้าให้พอดีกับตัวเราอีกทั้งยังต้องรอเสื้อผ้าอีก 2-3 วันเป็นอย่างต่ำอีกด้วย
คำถามก็คือ มันจะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีวิธีที่ดีกว่า? มันจะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากเราใช้เวลาในการเดินทางไปยังร้านค้าหรือการรอสองสามวันโดยการคลิกเพียงไม่กี่ปุ่ม? มันอาจจะฟังดูเป็นไปไม่ได้ แต่สิ่งเหล่านี้คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้บริษัท Electroloom ได้เริ่มการค้นคว้าและพัฒนาเครื่องที่สามารถสร้างผ้าขึ้นมาจริงๆ โดยไม่ต้องใช้ระบบการทอขึ้นมา
อุปกรณ์ชิ้นนี้ของ Electroloom สามารถเปรียบเทียบเครื่องพิมพ์ 3D สำหรับเสื้อผ้ายังไงอย่างงั้นแต่มันก็มีข้อแตกต่างจากเครื่องพิมพ์ 3D ทั่วๆไป มากกว่าตรงที่การสร้างเสื้อผ้าจะมีชิ้นส่วนพลาสติกเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยจะใช้เป็นต้นแบบ ซึ่ง Electroloom เรียกกระบวนการนี้ว่า “Field Guided Fabrication” ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเครื่องพิมพ์ 3 มิติมากกว่าเครื่องทอผ้า
**เคยมีการเดินแฟชั่นโชว์จาก 3D Printer ครั้งแรกแล้วในอเมริกา**
พนักงานเทคนิคประจำเครื่องอธิบายว่าตัวเครื่องจะใช้เทคนิค electrospinning ในการเปลี่ยนของเหลวเพื่อให้เกิดเป็นเส้นใยซึ่งจะถูกฉีดออกจากหัวฉีดและนำลงบนแม่พิมพ์ 3D จากสนามไฟฟ้าของเครื่องซึ่งเมื่อมันเข้ารูปแล้วสามารถประดับ, งอและพับเช่นเดียวกับผ้าที่คุณกำลังสวมใส่ในขณะนี้ได้
กระบวนการในการผลิตเสื้อผ้าแบบนี้ยังคงมีรอยเหี่ยวย่นให้เห็นบริเวณขอบแต่ต้นแบบล่าสุดนั้นแสดงให้เห็นว่าตัวเครื่องสามารถผลิตเสื้อผ้าที่ไม่ซับซ้อนมากอย่างเสื้อกล้าม, กระโปรงหรือหมวกผ้าได้แล้วซึ่งในปัจจุบันกำลังศึกษาและพัฒนาของเหลวที่นำมาใช้เพื่อให้มีเนื้อผ้าและสีที่หลากหลายมากขึ้น
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าในการทำงานและช่วยเพิ่มเงินสำหรับการพัฒนากับ Electroloom ได้ใน Kickster ครับ