Jimmy's Blog

Thai Blog about Science, Technology and Maker Movement

  • Business
  • Lifestyle
  • Maker
  • E-Commerce
  • Science
  • Phone
  • Archive

เออร์มา “ไม่ใช่” พายุเฮอริเคนที่แรงที่สุดเท่าที่เคยมีบันทึกมาในโซนแอตแลนติก

9/9/2017 โดย Vop Comments

พายเฮอริเคน เออร์มา IRMA กำลังจะขึ้นฝั่งฟลอริดาวันที่ 10 ก.ย.60นี้ ในฐานะพายุที่รุนแรงที่สุดในโซนแอตแลนติกเท่าที่เคยมีมา คำถามคือ มันจริงหรือไม่
hurricane irma.png-500

พายุเฮอริเคน คือ ชื่อเรียกของ “พายุหมุนเขตร้อน” ในระดับความเร็วลมสูงสุดที่เกิดขึ้นในโซนรอบๆสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าทางทิศตะวันตกประเทศ ซึ่งก็คือโซนตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก หรือโซน E หรือ ทางทิศตะวันออกของประเทศ ซึ่งก็คือโซนมหาสมุทรแอตแลนติกหรือโซน L ซึ่งนับรวมถีงทะเลแคริเบียนและอ่าวเม็กซิโกด้วย

ส่วนพายุหมุนเขตร้อนในส่วนอื่นของโลกเช่น โซนตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก หรือโซน W เราเรียกมันว่า “ไต้ฝุ่น”

โซนที่เหลือในซีกโลกเหนือที่ไม่ได้กล่าวมาข้างบน เราเรียกพายุหมุนเขตร้อนนั้นว่า “ไซโคลน”

การวัด “ความรุนแรง” ของพายุหมุนเขตร้อนนั้น อาจใช้ได้หลายวิธี ที่นิยมคือวัดความเร็วลมเฉลี่ยในระยะเวลา 1 นาที หรือที่เรียกกันว่า 1-minute sustained wind ก็อาจแบ่งเฮอริเคนออกเป็น 5 ระดับตามมาตรา แซฟเฟอร์–ซิมป์สัน โดยระดับ 1 หรือ Cat1 ถือว่าเบาสุด และระดับ 5 หรือ Cat5 ถือว่าแรงสุด (สำหรับไต้ฝุ่นกับไซโคลนจะไม่ใช้มาตรา แซฟเฟอร์–ซิมป์สัน แต่จะใช้มาตราของอินเดียหรือญี่ปุ่นแทน)

อีกวิธีก็คือการค่าระดับความกดอากาศ เหตุเนื่องจากพายุหมุนเขตร้อนทุกลูกมีต้นกำเนิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ที่เมื่อลดระดับความกดลงเรื่อยๆก็กลายสภาพเป็นพายุ ดังนั้น พายุลูกไหนมีค่าความกดอากาศต่ำสุด ก็อาจถือได้ว่าพายุลูกนั้นมีความแรงที่สุด

สถิติที่มีบันทึกเอาไว้ เอาเฉพาะระดับชนะเลิซในตำแหน่งต่างๆ มีดังนี้

พายุรุนแรงสุดนับจากทุกโซน (วัดความเร็วลมเฉลี่ยในระยะเวลา 1 นาที สูงสุด) คือ  พายุเฮอริเคน แพทริเซีย (2015 Patricia) ที่ 323 กม/ชม (201 ไมล์/ชม) โชคดีที่พายุลูกนี้อ่อนกำลังลงก่อนขึ้นฝั่งเม็กซิโก ความเสียหายจึงมีไม่มาก แต่ก็มีจุดเด่นที่เป็นพายุที่พัฒนาความเร็วลมได้ไวจนน่าตกตะลึง คือจากพายุโซนร้อนกลายเป็นเฮอริเคนระดับแรงจัดในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง (Patricia เป็นพายุในโซน E หรือแปซิฟิกตะวันออก เวลานับเทียบกับ Irma จึงอาจไม่ได้ร่วมแข่งขัน แต่ก็ถือว่าเป็นที่หนึ่งหากนับทุกโซน)

พายุรุนแรงสุดนับเฉพาะโซนแอตแลนติก คือ พายุเฮอริเคน แอลเล็น (1980 Allen)  ที่ 305 กม/ชม (190 ไมล์/ชม) เป็นเฮอริเคนชนิด Cape Verde หมายถึงก่อตัวจากแถวตะวันตกของทวีปแอฟริกาโดยได้ลมร้อนจากทะเลทรายเข้ามาช่วยในช่วงยกตัวแรกๆ ดูคลิปอธิบาย

แล้วจึงมาถึง พายุเฮอริเคน เออร์มา (2017 Irma) ที่ความเร็วลมเฉลี่ยในระยะเวลา 1 นาที 295 กม/ชม (185 ไมล์/ชม) นี่คือพายุลูกที่เรากำลังกล่าวถึงกันอยู่ในชั่วโมงนี้ จุดเด่นของ Irma คือมันคงสภาพ พายุเฮอริเคน Cat5 เอาไว้ได้นานหลายวัน นานกว่พายุเฮอริเคน Cat5 ทั่วไป และ Irma ก็เป็นเฮอริเคนชนิด Cape Verde แบบเดียวกับ Allen

สำหรับไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ถือว่าเป็นอันดับ 1 ของโซนใกล้บ้านเรานั้น ก็ยังแรงว่าทั้ง Allen และ Irma อยู่ดี โดยไต้ฝุ่น 2013 Haiyan นั้น มีความเร็วลมเฉลี่ยในระยะเวลา 1 นาที สูงสุดที่ 315 กม/ชม (195ไมล์/ชม)

แต่หากจะวัดที่ค่าความกดอากาศต่ำสุด ผู้ชนะเลิศได้แก่ พายุเฮอริเคน คือ วิลลมา (2005 Wilma)  โดยมีค่าความกดอากาศลดต่ำลงเหลือแค่ 882 hPa

อ่านเพิ่มเติม  https://wattsupwiththat.com/2017/09/07/hurricane-irma-is-not-the-most-powerful-atlantic-hurricane-ever-recorded/

หมายเหตุ ขนาดของพายุในเชิงความกว้างไม่มีผลต่อความแรง พายุลูกใหญ่ขนาดกว้างอาจมีพลังน้อยกว่าพายุลูกเล็กกว่า และหากจะกล่าวถึงเรื่องนี้  เจ้าของตำแหน่ง  พายุเฮอริเคน ที่มีขนาดกว้างสุด ได้แก่  พายุเฮอริเคน แซนดี้ (2012  Sandy) มีความกว้างถึง 1,520 กม.

เรียบเรียงโดย @MrVop

 

Science Irma ไม่ได้เป็นพายุเฮอริเคนที่แรงที่สุด

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

  • 20 มี.ค.60 วสันตวิษุวัต วัน “ชุงฮุง 春分” ดวงอาทิตน์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตร20 มี.ค.60 วสันตวิษุวัต วัน “ชุงฮุง 春分” ดวงอาทิตน์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตร
  • หุ่นยนต์ตัวเล็กเท่าแมลงหุ่นยนต์ตัวเล็กเท่าแมลง
  • เรื่อง “วัวๆ” กับโลกร้อนเรื่อง “วัวๆ” กับโลกร้อน
  • คอสตาริก้า สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้กว่า 99% ในปี 2015คอสตาริก้า สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้กว่า 99% ในปี 2015

Categories

Jimmy's Blog

Recent Activity

Recent Comments

  • Real Dhamma on ใช้ App อะไร รายงานแผ่นดินไหวใน Android ดีนะ

    21 May 2015

    ขอทราบวิธีดึง url จากเว็บมาใส่ในแอพให้ขึ้นfeed ได้ไหมคะ

  • Suthep Choetchom on Electroloom – เครื่องพิมพ์เสื้อผ้าพร้อมสวมใส่เครื่องแรกของโลก

    21 May 2015

    ผมนี่สนใจ สารตั้งต้นที่เอาไปพิมพ์มากกว่า ทำมาจากอะไร ต้นทุนถูกว่า ผ้าฝ้ายหรือ หรือผ้า โพลีเอสเตอร์ที่ใช้กันในอุตสาหกรรม ผ้าตอนนี้หรือไม่ ?

  • เอกลักษณ์ อินทิธา on เริ่มทดสอบระบบป้องกันโลกจากหายนะ “อาร์มาเกดดอน” ใน 7 ปีข้างหน้า

    20 May 2015

    ไหนๆเอาข้อมูลมาให้ดูหน่อยสิครับ

  • Sharkeye Ill on เริ่มทดสอบระบบป้องกันโลกจากหายนะ “อาร์มาเกดดอน” ใน 7 ปีข้างหน้า

    19 May 2015

    ปืนเลเซอร์ ของเยอร์มันสมัยสงครามโลกครังที่สอง หัดสำรวจเอามาใช้บ้างก็ดีน๊ะ

  • Jirawat Jirachaisopit on พบ “ปลาเลือดอุ่น” ตัวแรกของโลก

    18 May 2015

    counter-current heat exchange. คำนี้น่าจะเอามาพัฒนาเป็นประโยชน์ได้นะครับ

Copyright © 2018 Jimmy Software Blog · Powered by WordPress & MennStudio ·