Jimmy's Blog

Thai Blog about Science, Technology and Maker Movement

  • Business
  • Lifestyle
  • Maker
  • E-Commerce
  • Science
  • Phone
  • Archive

ชวนดูดาวพฤหัส “เพ็ญ” ใกล้โลก เสาร์ 8 เม.ย. นี้

4/4/2017 โดย Vop Comments

ดาวพฤหัส เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ เส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าโลก 11 เท่า หนักกว่าโลก 317 เท่า (ดาวพฤหัสดวงเดียว มีมวลมากกว่าดาวเคราะห์อีก 7 ดวงที่เหลือรวมกัน)  และเมื่อมองจากโลก ดาวพฤหัสจะเป็นดาวที่สว่างเป็นอันดับ 2 บนฟ้ายามค่ำคืน แพ้แค่ดาวศุกร์ (เพราะใกล้กว่า) แต่อาจมีพิเศษบางปีโดนดาวอังคารแย่งตำแหน่งในจังหวะที่เข้าใกล้โลก

jup-by-Go_2017Jan24

ดาวพฤหัสเป็นดาวเคราะห์วงนอก หมายถึงมีวงโคจรใหญ่กว่าวงโคจรของโลกเรารอบดวงอาทิตย์ จึงมีโอกาสที่โลกซึ่งโคจรรอบดวงอาทิตย์แล้วเกิดไปแทรกกลางคือดูเหมือนไปบังตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวพฤหัสได้เสมอ ตามลำดับแบบนี้  [ดวงอาทิตย์<->โลก<->ดาวพฤหัส] โดยจะเกิดเฉลี่ยได้ปีละครั้ง

jup_opp_170407

จังหวะที่เกิดการเรียง [ดวงอาทิตย์<->โลก<->ดาวพฤหัส] นี้ เราจะมองเห็นดาวพฤหัส “เพ็ญ” คือหากมองผ่านกล้องดูดาวจะเห็นเป็นสว่างเต็มดวง และ ณ ตำแหน่งนี้ ดาวพฤหัสจะใกล้โลกที่สุดในรอบปีด้วย เราเรียกตำแหน่งของดาวพฤหัสแบบนี้ว่า opposition

ในปี 2560 นี้ ดาวพฤหัสจะเข้าตำแหน่ง opposition ในวันที่ 8 เมษายน เวลาประมาณ 04:28  ตามเวลาในประเทศไทย ในเวลานี้ดาวพฤหัสจะสว่างที่สุดในรอบปี และมองเห็นได้ในทุกจังหวัดของประเทศไทย  โดยจะเข้าใกล้โลกที่ระยะห่าง 4.46AU หรือราว 667 ล้านกิโลเมตร มีค่าความสว่างปรากฏประมาณ -2.5

แต่เวลาที่เหมาะจะดูดาวพฤหัสสำหรับกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 8 เมษายน ย่อมจะเป็นช่วงกลางคืนตั้งแต่หัวค่ำวันที่ 8  โดยเราจะเริ่มเห็นดาวพฤหัสตั้งแต่เวลา 18:56 ที่ขอบฟ้าด้านทิศตะวันออก โดยดวงจันทร์จะขึ้นนำไปก่อน ดาวพฤหัสจะปรากฏที่มุมราว 7° จากขอบฟ้า จากนั้นจะขึ้นสูงเรื่อยๆ จนไปกลางฟ้าเวลา 00:22  และเห็นไปตลอดทั้งคืน จวบจนไปตกที่ขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกก่อนสว่างที่เวลา 05:43

ปีนี้ดาวพฤหัสจะเพ็ญหรือเข้าตำแหน่ง opposition ในราศีกันย์ (VIRGO) และรอบต่อไปที่จะเข้าตำแหน่ง opposition ในปีหน้าก็คือวันที่ 9 พฤษภาคม 2561 ขยับไป 1 กลุ่มดาว ก็คือไปเพ็ญในกลุ่มดาวราศีตุล (LIBRA)

และเนื่องจากดาวพฤหัสอยู่ในราศีกันย์ ในวันเสาร์นี้ ดาวพฤหัสจะปรากฏใกล้ดาวรวงข้าวหรือสไปก้า อีกด้วย

พิเศษ ! เสาร์นี้  สถาบันวิจัย ดาราศาสตร์ แห่ง ชาติ หรือ NARIT จะจัดงานดูดาวพฤหัส ชวนท่านที่สนใจไปชมได้ตามรายละเอียดด้านล่างนีั้

C8ixXRPXoAUubcv

เรียบเรียงโดย @MrVop

 

 

 

 

 

Science ดาวพฤหัสใกล้โลก

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

  • LiveMap แผนที่นำทางในหมวกกันน็อคLiveMap แผนที่นำทางในหมวกกันน็อค
  • กล้องดูดาว TRAPPIST  ส่องพบดาวแคระแดงพร้อมบริวาร 3 ดวง ประกอบกันขึ้นเป็นระบบสุริยะที่มีโอกาสเกิดสิ่งมีชีวิตกล้องดูดาว TRAPPIST ส่องพบดาวแคระแดงพร้อมบริวาร 3 ดวง ประกอบกันขึ้นเป็นระบบสุริยะที่มีโอกาสเกิดสิ่งมีชีวิต
  • LIGO-VIRGO แถงข่าวการพบคลื่นความโน้มถ่วงครั้งที่ 4LIGO-VIRGO แถงข่าวการพบคลื่นความโน้มถ่วงครั้งที่ 4
  • ปีใหม่ 2561 มาพร้อม “ซุปเปอร์มูน”ปีใหม่ 2561 มาพร้อม “ซุปเปอร์มูน”

Categories

Jimmy's Blog

Recent Activity

Recent Comments

  • Real Dhamma on ใช้ App อะไร รายงานแผ่นดินไหวใน Android ดีนะ

    21 May 2015

    ขอทราบวิธีดึง url จากเว็บมาใส่ในแอพให้ขึ้นfeed ได้ไหมคะ

  • Suthep Choetchom on Electroloom – เครื่องพิมพ์เสื้อผ้าพร้อมสวมใส่เครื่องแรกของโลก

    21 May 2015

    ผมนี่สนใจ สารตั้งต้นที่เอาไปพิมพ์มากกว่า ทำมาจากอะไร ต้นทุนถูกว่า ผ้าฝ้ายหรือ หรือผ้า โพลีเอสเตอร์ที่ใช้กันในอุตสาหกรรม ผ้าตอนนี้หรือไม่ ?

  • เอกลักษณ์ อินทิธา on เริ่มทดสอบระบบป้องกันโลกจากหายนะ “อาร์มาเกดดอน” ใน 7 ปีข้างหน้า

    20 May 2015

    ไหนๆเอาข้อมูลมาให้ดูหน่อยสิครับ

  • Sharkeye Ill on เริ่มทดสอบระบบป้องกันโลกจากหายนะ “อาร์มาเกดดอน” ใน 7 ปีข้างหน้า

    19 May 2015

    ปืนเลเซอร์ ของเยอร์มันสมัยสงครามโลกครังที่สอง หัดสำรวจเอามาใช้บ้างก็ดีน๊ะ

  • Jirawat Jirachaisopit on พบ “ปลาเลือดอุ่น” ตัวแรกของโลก

    18 May 2015

    counter-current heat exchange. คำนี้น่าจะเอามาพัฒนาเป็นประโยชน์ได้นะครับ

Copyright © 2018 Jimmy Software Blog · Powered by WordPress & MennStudio ·