Jimmy's Blog

Thai Blog about Science, Technology and Maker Movement

  • Business
  • Lifestyle
  • Maker
  • E-Commerce
  • Science
  • Phone
  • Archive

วิเคราะห์ลักษณะของแผ่นดินไหวกับการทดลองนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ 6 ม.ค.2016

6/1/2016 โดย Vop Comments

เมื่อเวลา 08:30:01 ตามเวลาไทย  ซึ่งตรงกับเวลา 10:00:01 ของเกาหลีเหนือ ได้เกิดมีแผ่นดินไหวขนาด 5.1 ขึ้น หลังจากนั้นไม่นาน ทางเกาหลีเหนือก็ออกมาอ้างว่าเกิดจากการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดินแบบไฮโดรเจน

ทั้งนี้  หากเป็นจริงตามคำกล่าวอ้าง ก็ถือเป็นการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดินครั้งที่ 4 ของเกาหลีเหนือ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลทางแผ่นดินไหวของ USGS ในเหตุการณ์ทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดินของเกาหลีเหนือทั้ง 4 ครั้งย้อนหลังไปมีดังนี้

1)  วันที่ 6 ม.ค.59 (วันนี้) ณ เวลาไทย 08:30:01 พิกัด 41.305°N, 129.039°E ความลึก 0 กม. ขนาดแผ่นดินไหว  5.1 ตามมาตรา mb และขนาด Ms 4.0 ตามาตรา Ms http://earthquake.usgs.gov/earthquakes/eventpage/us10004bnm

2) วันที่ 12 ก.พ.56 ณ เวลาไทย 09:57:51  พิกัด 41.299°N, 129.004°E ความลึก depth 0 km ขนาดแผ่นดินไหว  5.1 ตามมาตรา mb และขนาด Ms 4.0 ตามาตรา Ms http://earthquake.usgs.gov/earthquakes/eventpage/usc000f5t0

3) วันที่  25 พ.ค.52 ณ เวลาไทย 07:54:43  พิกัด 41.303°N, 129.037°E ความลึก depth 0 km ขนาดแผ่นดินไหว  4.7 ตามมาตรา mb http://earthquake.usgs.gov/earthquakes/eventpage/usp000gxgc

4) วันที่  9 ต.ค.49 ณ เวลาไทย 08:35:28  พิกัด 41.294°N, 129.094°E ความลึก depth 0 km ขนาดแผ่นดินไหว  4.3 ตามมาตรา mb http://earthquake.usgs.gov/earthquakes/eventpage/usp000eurb

 

NKorea_MDJ_2013_2016_AH
กราฟจากสถานีวัดแผ่นดินไหวเครือข่ายของ IRIS-USGS ในจังหวัด หมู่ตันเจียง ของจีน ( MDJ) ในเปรียบเทียบแผ่นดินไหวในปี 2013 และ 2016 ใช้ค่าความเร็วและตัวกรองระหว่างความถี่ 0.03 และ 3 Hz. (Alex Hutko, IRIS)

 

NKorea4comparison
ขนาดของคลื่นไหวสะเทือน ( ground motions) เปรียบเทียบ 4 เหตุการณ์แยกตามสี ล่าสุดสีแดง ของปี 2013 สีเหลือง มีขนาดใกล้เคียงกันมาก

จากกราฟในภาพทั้งสองจะเห็นว่ามีความใกล้เคียงกันทั้งขนาดและรูปร่างของรูปคลื่นในแผ่นดินไหว 2 ครั้งคือของปี 2013 และคร้งล่าสุดปีนี้ 2016 เป็นอบย่างมาก

ทั้งนี้ ทางเกาหลีเหนืออ้างว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่ทดสอบในวันนี้เป็นแบบไฮโดรเจน ซึ่งหากวิเคราะห์ตามขนาดแผ่นดินไหว กลับไม่พบว่ารุนแรงกว่าครั้งที่แล้วมา ทั้งที่ระเบิดไฮโดรเจนควรจะส่งผลแรงกว่านั้นมากมายหลายเท่า จึงเป็นไปได้สูงว่าเกาหลีเหนือกล่าวอ้างเกินจริง

เรียบเรียงโดย @MrVop

Science ทดสอบนิวเคลียร์, เกาหลีเหนือ

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

  • LiveMap แผนที่นำทางในหมวกกันน็อคLiveMap แผนที่นำทางในหมวกกันน็อค
  • กล้องดูดาว TRAPPIST  ส่องพบดาวแคระแดงพร้อมบริวาร 3 ดวง ประกอบกันขึ้นเป็นระบบสุริยะที่มีโอกาสเกิดสิ่งมีชีวิตกล้องดูดาว TRAPPIST ส่องพบดาวแคระแดงพร้อมบริวาร 3 ดวง ประกอบกันขึ้นเป็นระบบสุริยะที่มีโอกาสเกิดสิ่งมีชีวิต
  • ปีใหม่ 2561 มาพร้อม “ซุปเปอร์มูน”ปีใหม่ 2561 มาพร้อม “ซุปเปอร์มูน”
  • ผึ้งสามารถนับเลขได้ถึง 4 ที่น่าทึ่งยิ่งกว่านั้น มันยังรู้จักเลข 0 ด้วยผึ้งสามารถนับเลขได้ถึง 4 ที่น่าทึ่งยิ่งกว่านั้น มันยังรู้จักเลข 0 ด้วย

Categories

Jimmy's Blog

Recent Activity

Recent Comments

  • Real Dhamma on ใช้ App อะไร รายงานแผ่นดินไหวใน Android ดีนะ

    21 May 2015

    ขอทราบวิธีดึง url จากเว็บมาใส่ในแอพให้ขึ้นfeed ได้ไหมคะ

  • Suthep Choetchom on Electroloom – เครื่องพิมพ์เสื้อผ้าพร้อมสวมใส่เครื่องแรกของโลก

    21 May 2015

    ผมนี่สนใจ สารตั้งต้นที่เอาไปพิมพ์มากกว่า ทำมาจากอะไร ต้นทุนถูกว่า ผ้าฝ้ายหรือ หรือผ้า โพลีเอสเตอร์ที่ใช้กันในอุตสาหกรรม ผ้าตอนนี้หรือไม่ ?

  • เอกลักษณ์ อินทิธา on เริ่มทดสอบระบบป้องกันโลกจากหายนะ “อาร์มาเกดดอน” ใน 7 ปีข้างหน้า

    20 May 2015

    ไหนๆเอาข้อมูลมาให้ดูหน่อยสิครับ

  • Sharkeye Ill on เริ่มทดสอบระบบป้องกันโลกจากหายนะ “อาร์มาเกดดอน” ใน 7 ปีข้างหน้า

    19 May 2015

    ปืนเลเซอร์ ของเยอร์มันสมัยสงครามโลกครังที่สอง หัดสำรวจเอามาใช้บ้างก็ดีน๊ะ

  • Jirawat Jirachaisopit on พบ “ปลาเลือดอุ่น” ตัวแรกของโลก

    18 May 2015

    counter-current heat exchange. คำนี้น่าจะเอามาพัฒนาเป็นประโยชน์ได้นะครับ

Copyright © 2018 Jimmy Software Blog · Powered by WordPress & MennStudio ·