Jimmy's Blog

Thai Blog about Science, Technology and Maker Movement

  • Business
  • Lifestyle
  • Maker
  • E-Commerce
  • Science
  • Phone
  • Archive

ยานแคสสินี บินเฉียดดวงจันทร์ไดโอเนของดาวเสาร์เป็นรอบสุดท้ายของภารกิจ

17/8/2015 โดย Vop Comments

ยานอวกาศแคสสินี บินเฉียดผิวดวงจันทร์ไดโอเน เวลา 01:33 เช้านี้ตามเวลาไทย

cassini20150813-16
Image credit: NASA/JPL-Caltech/Space Science Institute

 

เช้าวันนี้ (17 ส.ค.58) ยานอวกาศแคสินี ได้เข้าบินเฉียดใกล้ดวงจันทร์ไดโอเนของดาวเสาร์เป็นครั้งสุดท้ายของภาระกิจ ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 5 ที่บินเข้าใกล้ดวงจันทร์ดวงนี้ ในระยะห่างจากผิวดวงจันทร์ 474 กิโลเมตร

ก่อนหน้านี้แคสินี เคยบินเฉียดดวงจันทร์ไดโอเนแล้ว 1 รอบคือเมื่อ 16 มิ.ย.58 ที่ผ่านมา และได้ถ่ายภาพที่เห็นด้านบนบทความนี้ ขีดขาวๆมุมซ้ายบนคือวงแหวนของดาวเสาร์

ภารกิจอันยาวนานตลอดอายุ 20 ปีของยานแคสสินีใกล้สิ้นสุดลง หลังออกจากโลกเมื่อปี 2540 เดินทางนาน 7 ปีสู่ดาวเสาร์ แวดวงการศึกษาดาวราชาแห่งวงแหวนเปิดกว้างขึ้นมากมายจากข้อมูลและภาพถ่ายจำนวนมหาศาลที่แคสสินีส่งมาให้ บัดนี้พลังงานของยานจวดเจียนจะหมด เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา แคสสินีได้รับคำสั่งให้ติดเครื่องยนต์จรวดด้วยเชื้อเพลิงอันน้อยนิดนาน 12 วินาที เพื่อปรับมุมให้พุ่งเข้าเฉียดดวงจันทร์ไดโอเน ดวงจันทร์ 1 ใน 62 ดวงของดาวเสาร์เป็นครั้งสุดท้าย

สภาพทางธรณีวิทยาบนแคสสินีดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก พื้นผิวของดวงจันทร์ที่มีอีกชื่อว่า Saturn IV นี้ยังกิจกรรมต่างๆไม่หยุดหย่อน ไม่เหมือนผิวดวงจันทร์ของโลกเราที่หยุดนิ่งไม่มีความเปลี่ยนแปลงมานานแล้ว การเข้าเฉียดไดโอเนครั้งที่ 5 นี้ จะมีการถ่ายภาพรายละเอียดสูงและวัดอุณหูมิบนผิวดวงจันทร์ด้วยเครืองมือบนแคสสินีอีกครั้ง เพื่อสรุปรายละเอียดทั้งหมด

แคสสินีถูกกำหนดให้จบภาะกิจในปี 2560 ด้วยการพุ่งเข้าสู่บรรยากาศดาวเสาร์เพื่อส่งข้อมูลรอบสุดท้ายเกี่ยวกับองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศ ก่อนตัวยานจะถูกเผาไหม้หายไป

อ้างอิง ttp://www.jpl.nasa.gov/news/news.php?feature=4689
เรียบเรียงโดย @MrVop
 

Science

Comments

  1. รวบรวมบทความเกี่ยวกับอวกาศ « Punpunsara.com - ปันปันสาระ says:
    11/1/2016 at 6:05 PM

    […] ยานคะซีนีโคจรผ่านดวงจันทร์ไดโอเน […]

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

  • พบดาวเคราะห์ที่มีดวงอาทิตย์ 3 ดวง เป็นครั้งแรกพบดาวเคราะห์ที่มีดวงอาทิตย์ 3 ดวง เป็นครั้งแรก
  • พบ “ดาราคราส” ที่ยาวนานที่สุดในจักรวาลพบ “ดาราคราส” ที่ยาวนานที่สุดในจักรวาล
  • สีสันที่แทจริงของดาวเสาร์สีสันที่แทจริงของดาวเสาร์
  • ภาพอีกด้านของดวงจันทร์ไฮเพอร์ริออน มาถึงแล้วภาพอีกด้านของดวงจันทร์ไฮเพอร์ริออน มาถึงแล้ว

Categories

Jimmy's Blog

Recent Activity

Recent Comments

  • Real Dhamma on ใช้ App อะไร รายงานแผ่นดินไหวใน Android ดีนะ

    21 May 2015

    ขอทราบวิธีดึง url จากเว็บมาใส่ในแอพให้ขึ้นfeed ได้ไหมคะ

  • Suthep Choetchom on Electroloom – เครื่องพิมพ์เสื้อผ้าพร้อมสวมใส่เครื่องแรกของโลก

    21 May 2015

    ผมนี่สนใจ สารตั้งต้นที่เอาไปพิมพ์มากกว่า ทำมาจากอะไร ต้นทุนถูกว่า ผ้าฝ้ายหรือ หรือผ้า โพลีเอสเตอร์ที่ใช้กันในอุตสาหกรรม ผ้าตอนนี้หรือไม่ ?

  • เอกลักษณ์ อินทิธา on เริ่มทดสอบระบบป้องกันโลกจากหายนะ “อาร์มาเกดดอน” ใน 7 ปีข้างหน้า

    20 May 2015

    ไหนๆเอาข้อมูลมาให้ดูหน่อยสิครับ

  • Sharkeye Ill on เริ่มทดสอบระบบป้องกันโลกจากหายนะ “อาร์มาเกดดอน” ใน 7 ปีข้างหน้า

    19 May 2015

    ปืนเลเซอร์ ของเยอร์มันสมัยสงครามโลกครังที่สอง หัดสำรวจเอามาใช้บ้างก็ดีน๊ะ

  • Jirawat Jirachaisopit on พบ “ปลาเลือดอุ่น” ตัวแรกของโลก

    18 May 2015

    counter-current heat exchange. คำนี้น่าจะเอามาพัฒนาเป็นประโยชน์ได้นะครับ

Copyright © 2018 Jimmy Software Blog · Powered by WordPress & MennStudio ·